ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.31 กลับมาอ่อนค่าหลังมีแรงซื้อดอลล์ จับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ มองกรอบวันนี้ 33.25-33.40
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 33.31 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 33.26 บาท/ดอลลาร์
"ล่าสุดเงินบาทอ่อนค่าขึ้นมาอยู่ที่ 33.33 บาท/ดอลลาร์ เมื่อคืนมีแรงซื้อดอลลาร์กลับเข้ามาในตลาด ซึ่งน่าจะเป็น
สัญญาณทางเทคนิคเพราะยังไม่มีปัจจัยใหม่...ปัจจัยที่ต้องติดตามคือคืนนี้จะมีเจ้าหน้าที่เฟดออกมาพูด และรายงานตัวเลขการจ้างงาน
ของสหรัฐฯ (ADP)" นักบริหารเงินระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.25-33.40 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.54 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 110.34 เยน/ดอลลาร์
- ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1798 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.1815 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.2830 บาท/
ดอลลาร์
- นายแบงก์ ระบุต้องติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นกว่าประเทศคู่ค้าและคู่แข่งเป็นเพียงระยะสั้นหรือไม่
โดยยอมรับว่าการเคลื่อนไหว ค่าเงินบาทเป็นเรื่องควบคุมยาก ผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกไม่ควรประมาท จำเป็นต้องป้องกัน
ความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อล็อกต้นทุนและกำไรในช่วงที่ค่าเงินผันผวน อย่าคิดว่าการทำเฮดจิ้งเป็นค่าใช้จ่ายและต้นทุน
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) จะค่อยๆ ฟื้นตัว
ขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1.0%
- ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ผู้สูงอายุโดยอนุมัติในหลักการส่วนการจัดเก็บ
เงินเข้ากองทุนผู้สูงอายุเพิ่ม จากภาษีสุรา ยาสูบ และเบียร์ ในอัตรา 2% เข้ากองทุนผู้สูงอายุ เพื่อไปเพิ่มให้กับผู้สูงอายุที่มีรายได้
น้อย แต่กำหนดเพดานการจัดสรรเงินเข้ากองทุนไว้ที่ไม่เกิน 4,000 ล้านบาทต่อปี โดยจะมีผลบังคับใช้หลังจากผ่านสภานิติบัญญัติแห่ง
ชาติ(สนช.) และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว คาดว่าจะเป็นช่วงต้นปี 2561
- บริษัทไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)
สำหรับภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 53.3 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน และสูงกว่าระดับ 52.0
ในเดือนมิ.ย.
- ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM ปรับตัวสู่ระดับ 56.3
ในเดือนก.ค. ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 56.5
- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยนและปอนด์ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) จาก
แรงกดดันของข้อมูลเงินเฟ้อที่อ่อนแอของสหรัฐ ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มการกำหนดนโยบายการเงินของ
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากนี้ โดยยูโรอ่อนค่าลงแตะ 1.1810 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1825 ดอลลาร์ ดอลลาร์อ่อนค่าลง
เมื่อเทียบกับเยน ที่ระดับ 110.23 เยน จากระดับ 110.37 เยน
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐ ประกอบกับความ
ไม่แน่นอนทางการเมืองในสหรัฐ ได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
- นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวเตือนถึงภาวะฟองสบู่ในตลาดพันธบัตร โดยระบุ
ว่า เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ช่วงของการดีดตัวขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งจะทำให้ตลาดพันธบัตรร้อนแรงเกินไป หากภาวะการณ์ดังกล่าวยังคง
ดำเนินต่อไป
- นักลงทุนจับตาข้อมูลด้านอื่นๆของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.ค.
จาก ADP, ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือนก.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนก.ค. จากมาร์กิต, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนมิ.ย., ดัชนีภาคการผลิต
เดือนก.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค. และดุลการค้าเดือนมิ.ย.
อัตราแลกเปลี่ยนเงิน
สกุลเงิน | ซื้อ | ขาย |
---|---|---|
USD
United States
|
34.43 | 34.60 |
GBP
United Kingdom
|
43.24 | 43.50 |
EUR
European Union
|
35.99 | 36.25 |
JPY
Japan
|
0.223 | 0.2245 |
MYR
Malaysia
|
7.70 | 7.75 |
SGD
Singapore
|
25.25 | 25.70 |
CNY
China
|
4.72 | 4.78 |